น.ส.ภัทราพร เทพนรินทร์ ม.5 ห้อง 946 เลขที่ 22
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB)
1. เอดีบี คือ?
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี คือสถาบันทางการเงินที่มุ่งเน้นการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เอดีบีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นคู่แข่งแม้กระทั่งธนาคารโลก และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ โดยเอดีบีมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ก่อตั้งเมื่อปี 1966 (พ.ศ. 2509) ตั้งแต่นั้นมาสถาบันทางการเงินแห่งนี้ก็ทำหน้าที่เป็นช่องทางสำคัญสำหรับ อิทธิพลทางธุรกิจของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยธรรมเนียมแล้ว ตำแหน่งประธานของเอดีบี และผู้บริหารระดับสูงจะเป็นคนญี่ปุ่น เหมือนกับที่สหรัฐอมริกาครองตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในธนาคารโลก
2. เอดีบี ทำอะไร?
เอดีบีให้เงินกู้ ลงทุน และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่รัฐบาล และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ในประเทศสมาชิก สำหรับการเตรียมการและการดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ จนเสร็จสิ้น และยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากการระดมเงินทุนจาก ทั้งภาคเอกชนและภาคสาธารณะเพื่อการพัฒนา
3. ใครเป็นผู้จ่ายเงินสำหรับการดำเนินงานของเอดีบี?
เอดีบีตั้งขึ้นมาด้วยเงินจากการบริจาค และเงินจากการเป็นสมาชิกของประเทศต่าง ๆ และจากการกู้ยืมจากตลาดเงินระหว่างประเทศด้วย
4. ใครบ้างที่เป็นประเทศสมาชิก?
เอดีบีมีสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมด 57 ประเทศ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คือประเทศละ 16 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเฃียและแปซิฟิคจำนวน 41 ประเทศ ถือหุ้นอยู่รวมกัน 47 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมญี่ปุ่น) และสมาชิกอีก 16 ประเทศที่มาจากประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ถือหุ้นอยู่ 21 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมสหรัฐอเมริกา) ผู้ถือหุ้นสิบอันดับต้น ๆ (เรียงตามลำดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปเล็ก) คือ ญี่ปุ่นและอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา เกาหลี เยอรมัน และมาเลเซีย โดยเอดีบีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี คือสถาบันทางการเงินที่มุ่งเน้นการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เอดีบีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นคู่แข่งแม้กระทั่งธนาคารโลก และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ โดยเอดีบีมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ก่อตั้งเมื่อปี 1966 (พ.ศ. 2509) ตั้งแต่นั้นมาสถาบันทางการเงินแห่งนี้ก็ทำหน้าที่เป็นช่องทางสำคัญสำหรับ อิทธิพลทางธุรกิจของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยธรรมเนียมแล้ว ตำแหน่งประธานของเอดีบี และผู้บริหารระดับสูงจะเป็นคนญี่ปุ่น เหมือนกับที่สหรัฐอมริกาครองตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในธนาคารโลก
2. เอดีบี ทำอะไร?
เอดีบีให้เงินกู้ ลงทุน และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่รัฐบาล และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ในประเทศสมาชิก สำหรับการเตรียมการและการดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ จนเสร็จสิ้น และยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากการระดมเงินทุนจาก ทั้งภาคเอกชนและภาคสาธารณะเพื่อการพัฒนา
3. ใครเป็นผู้จ่ายเงินสำหรับการดำเนินงานของเอดีบี?
เอดีบีตั้งขึ้นมาด้วยเงินจากการบริจาค และเงินจากการเป็นสมาชิกของประเทศต่าง ๆ และจากการกู้ยืมจากตลาดเงินระหว่างประเทศด้วย
4. ใครบ้างที่เป็นประเทศสมาชิก?
เอดีบีมีสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมด 57 ประเทศ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คือประเทศละ 16 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเฃียและแปซิฟิคจำนวน 41 ประเทศ ถือหุ้นอยู่รวมกัน 47 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมญี่ปุ่น) และสมาชิกอีก 16 ประเทศที่มาจากประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ถือหุ้นอยู่ 21 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมสหรัฐอเมริกา) ผู้ถือหุ้นสิบอันดับต้น ๆ (เรียงตามลำดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปเล็ก) คือ ญี่ปุ่นและอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา เกาหลี เยอรมัน และมาเลเซีย โดยเอดีบีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
5. ใครเป็นผู้บริจาคทุนรายใหญ่ของเอดีบี?
ผู้บริจาครายใหญ่ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย และแคนาดา
6. ใครเป็นผู้กู้รายใหญ่ของเอดีบี?
ในปี 2539 ผู้กู้รายใหญ่ (เรียงตามลำดับ) คือ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เนปาล บังคลาเทศ และกัมพูชา
7. โครงสร้างการตัดสินใจของเอดีบีเป็นอย่างไร?
โดยทางปฏิบัติ ประเทศผู้บริจาครายใหญ่จะมีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด ซึ่งก็คือ ญี่ปุ่น และอเมริกา รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ที่ผ่านมาประธานของเอดีบีทั้ง 6 คนเป็นชาวญี่ปุ่น ผลก็คือ โครงการต่าง ๆ ที่เอดีบีให้กู้ก็จะเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องผล ประโยชน์ด้วยเสมอ
ผู้บริจาครายใหญ่ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย และแคนาดา
6. ใครเป็นผู้กู้รายใหญ่ของเอดีบี?
ในปี 2539 ผู้กู้รายใหญ่ (เรียงตามลำดับ) คือ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เนปาล บังคลาเทศ และกัมพูชา
7. โครงสร้างการตัดสินใจของเอดีบีเป็นอย่างไร?
โดยทางปฏิบัติ ประเทศผู้บริจาครายใหญ่จะมีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด ซึ่งก็คือ ญี่ปุ่น และอเมริกา รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ที่ผ่านมาประธานของเอดีบีทั้ง 6 คนเป็นชาวญี่ปุ่น ผลก็คือ โครงการต่าง ๆ ที่เอดีบีให้กู้ก็จะเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องผล ประโยชน์ด้วยเสมอ
8. อะไรที่เอดีบีบอกว่าเป็นเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ของเอดีบี?
เอดีบีอธิบายบทบาทของตัวเองในภูมิภาคนี้ว่า "เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนในระดับกว้าง ๆ ของกิจกรรมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้" โดยเอดีบีมองว่าจะต้องสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการเติบโตทาง เศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค โดยวางเป้ายุทธศาสตร์ของธนาคารว่า "จะต้องสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดทอนความยากจน ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับสถานะของผู้หญิง และปกป้องสิ่งแวดล้อม" อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นถูกระบุไว้ปะปนกับเป้าหมายทางด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งมันเด่นชัดว่านโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดทอนความยากจนนั้นยังคงเป็นเป้าหมายใจความใหญ่ หรือถือเป็นปรัชญาการดำเนินงานของธนาคาร
9. บทบาทของเอดีบีในขณะนี้เป็นอย่างไร?
บทบาทแต่ก่อนธนาคารเป็นผู้ให้กู้เงินแก่ประเทศสมาชิกโดยตรง แต่ในปัจจุบัน ธนาคารได้เปลี่ยนบทบาทใหม่มาเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนา โดยใช้การลงทุนในโครงการต่าง ๆ มาโน้มน้าวภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนและจัดการทางด้านการเงินร่วมกัน โดยเอดีบีจะเป็นผู้วางกรอบและผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างของสถาบันต่าง ๆ โดยการแปรรูป และปรับกฎหมาย เพื่อปูทางให้ภาคเอกชนเข้ามา การดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเช่นนี้ เอดีบีอ้างว่าทำให้เงินทุนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามาเสริมวิสัยทัศน์ทางด้านการ พัฒนาของเอดีบีในภูมิภาคให้ขยายออกไปอย่างมากมาย
เอดีบี กับประเทศไทย
ความจริงเอดีบีได้ให้เงินกู้ประเทศไทยมานาน ตั้งแต่ปี 2516 ในยุคที่คอมมิวนิสต์แพร่ระบาดในไทย สหรัฐอเมริกาเห็นสมควรที่จะสนับสนุนประเทศไทย โดยในช่วงแรก ๆ การให้เงินกู้ของเอดีบีเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการก่อสร้างถนน และสาธารณูปโภคพื้นฐาน
จนกระทั่งเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยระหว่างปี 2540-2541 ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้กู้เงินจากไอเอ็มเอฟ ไปแล้วจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเวลาไม่นาน ประเทศไทยก็ต้องกู้เงินจากเอดีบีอีกระลอกหนึ่ง เอดีบีได้อนุมัติวงเงินกู้แก่ประเทศไทยภายใต้โปรแกรมเงินกู้ของไอเอ็มเอฟ เป็นจำนวนเงิน 1,200 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในปี 2541 เอดีบีได้อนุมัติเงินกู้ไปแล้วในด้านการปรับโครงสร้างภาคการเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับโครงสร้างภาคสังคม 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และระดมทุนร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศให้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ เข้าแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อปล่อยกู้ต่อแก่ภาคเอกชน และในปี 2542 รัฐบาลได้เจรจาขอกู้เพิ่มเติม เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรเป็นจำนวนเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และสมทบจาก OECF อีก 300 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมเป็นเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่รัฐบาลไทยมองเอดีบีไม่ต่างจากไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก ว่าคืออัศวินขี่ม้าขาว ที่เข้ามาช่วยอุ้มชูประเทศไทยให้รอดพ้นจาก "วิกฤติเศรษฐกิจ" แต่ในความเป็นจริงภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ ไม่ว่าธนาคารไหน ๆ ในโลกก็ไม่ต่างกัน เมื่อให้ ก็ย่อมหมายถึง ต้องได้ "กำไร" คือทำอย่างไรก็ได้ที่จะทำให้ประเทศนั้น ๆ คืนเงินมาพร้อมกับดอกเบี้ย ที่สำคัญคือ เงินกู้เอดีบีอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 8 สูงที่สุดในบรรดาเงินกู้ที่ประเทศไทยเคยกู้มา
การให้เงินกู้ของเอดีบีจึงแถมพกมาด้วย "เงื่อนไข" ที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม ภายใต้ชื่อโครงการที่ดูดีว่า "แผนความช่วยเหลือประเทศ" หรือ CAP
เอดีบีอธิบายบทบาทของตัวเองในภูมิภาคนี้ว่า "เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนในระดับกว้าง ๆ ของกิจกรรมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้" โดยเอดีบีมองว่าจะต้องสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการเติบโตทาง เศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค โดยวางเป้ายุทธศาสตร์ของธนาคารว่า "จะต้องสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดทอนความยากจน ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับสถานะของผู้หญิง และปกป้องสิ่งแวดล้อม" อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นถูกระบุไว้ปะปนกับเป้าหมายทางด้าน เศรษฐกิจ ซึ่งมันเด่นชัดว่านโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดทอนความยากจนนั้นยังคงเป็นเป้าหมายใจความใหญ่ หรือถือเป็นปรัชญาการดำเนินงานของธนาคาร
9. บทบาทของเอดีบีในขณะนี้เป็นอย่างไร?
บทบาทแต่ก่อนธนาคารเป็นผู้ให้กู้เงินแก่ประเทศสมาชิกโดยตรง แต่ในปัจจุบัน ธนาคารได้เปลี่ยนบทบาทใหม่มาเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนา โดยใช้การลงทุนในโครงการต่าง ๆ มาโน้มน้าวภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนและจัดการทางด้านการเงินร่วมกัน โดยเอดีบีจะเป็นผู้วางกรอบและผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างของสถาบันต่าง ๆ โดยการแปรรูป และปรับกฎหมาย เพื่อปูทางให้ภาคเอกชนเข้ามา การดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเช่นนี้ เอดีบีอ้างว่าทำให้เงินทุนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามาเสริมวิสัยทัศน์ทางด้านการ พัฒนาของเอดีบีในภูมิภาคให้ขยายออกไปอย่างมากมาย
เอดีบี กับประเทศไทย
ความจริงเอดีบีได้ให้เงินกู้ประเทศไทยมานาน ตั้งแต่ปี 2516 ในยุคที่คอมมิวนิสต์แพร่ระบาดในไทย สหรัฐอเมริกาเห็นสมควรที่จะสนับสนุนประเทศไทย โดยในช่วงแรก ๆ การให้เงินกู้ของเอดีบีเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการก่อสร้างถนน และสาธารณูปโภคพื้นฐาน
จนกระทั่งเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยระหว่างปี 2540-2541 ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้กู้เงินจากไอเอ็มเอฟ ไปแล้วจำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเวลาไม่นาน ประเทศไทยก็ต้องกู้เงินจากเอดีบีอีกระลอกหนึ่ง เอดีบีได้อนุมัติวงเงินกู้แก่ประเทศไทยภายใต้โปรแกรมเงินกู้ของไอเอ็มเอฟ เป็นจำนวนเงิน 1,200 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในปี 2541 เอดีบีได้อนุมัติเงินกู้ไปแล้วในด้านการปรับโครงสร้างภาคการเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับโครงสร้างภาคสังคม 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และระดมทุนร่วมกับสถาบันการเงินต่างประเทศให้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ เข้าแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อปล่อยกู้ต่อแก่ภาคเอกชน และในปี 2542 รัฐบาลได้เจรจาขอกู้เพิ่มเติม เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรเป็นจำนวนเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และสมทบจาก OECF อีก 300 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมเป็นเงิน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่รัฐบาลไทยมองเอดีบีไม่ต่างจากไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก ว่าคืออัศวินขี่ม้าขาว ที่เข้ามาช่วยอุ้มชูประเทศไทยให้รอดพ้นจาก "วิกฤติเศรษฐกิจ" แต่ในความเป็นจริงภายใต้เงื่อนไขเงินกู้ ไม่ว่าธนาคารไหน ๆ ในโลกก็ไม่ต่างกัน เมื่อให้ ก็ย่อมหมายถึง ต้องได้ "กำไร" คือทำอย่างไรก็ได้ที่จะทำให้ประเทศนั้น ๆ คืนเงินมาพร้อมกับดอกเบี้ย ที่สำคัญคือ เงินกู้เอดีบีอัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 8 สูงที่สุดในบรรดาเงินกู้ที่ประเทศไทยเคยกู้มา
การให้เงินกู้ของเอดีบีจึงแถมพกมาด้วย "เงื่อนไข" ที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม ภายใต้ชื่อโครงการที่ดูดีว่า "แผนความช่วยเหลือประเทศ" หรือ CAP
แผนความช่วยเหลือได้กำหนดเงื่อนไขสำคัญ ๆ ที่ทำให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามดังนี้
ปรับโครงสร้างภาคการเงิน และพัฒนาตลาดทุน
รัฐบาลจะต้องมีแผนการปรับภาคเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างภาคการเงิน ใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวด และลดการขาดดุลทางการค้า โดยการเสนอให้เพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน
การปฏิรูปสถาบันการเงินนี้ เอดีบีจะทำงานร่วมกับไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟมีหน้าที่ปฏิรูปและสร้างความแข็งแกร่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารโลกทำหน้าที่ปฏิรูปกฎระเบียบและปรับปรุงสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร ส่วนเอดีบีทำหน้าที่ในการพัฒนาตลาดทุน เพิ่มช่องทางการระดมทุน เช่น ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร
แปรรูประบบการศึกษา
ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับด้านการศึกษาสูงมาก และเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เอดีบีจึงได้เสนอการแปรรรูประบบการศึกษาโดยให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ โดยให้เหตุผลอย่างสวยหรูคือ "เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา" แต่โดยเนื้อแท้การแปรรูปนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกคนยากคนจนที่ไม่มีทุนรอน ก็จะไม่สามารถศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้
ยิ่งไปกว่านี้ระบบการศึกษาของประเทศจะถูกควบคุมด้วยเอดีบี โดยเอดีบีได้กำหนดให้คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ เป็นผู้วางนโยบายหลัก และวางการศึกษาให้กับประเทศไทยทุกระดับ การศึกษาทางเลือก ที่เน้นวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชนก็จะถูกกีดกันออกไปจากระบบในที่สุด
แปรรูประบบสาธารณสุข
เอดีบีมองว่าภาระค่าใช้จ่ายของรัฐอีกด้านหนึ่งที่มีการใช้ไปเป็นจำนวนมาก คือค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีทั้งค่ายา และเวชภัณฑ์ เช่นเดียวกับระบบการศึกษา ฉะนั้นจึงมีการเสนอให้แปรรูประบบสาธารณสุข โดยในขณะนี้มีการทำโครงการนำร่องโรงพยาบาลระดับศูนย์ของรัฐให้ออกนอกระบบ ราชการ 7 แห่ง คือที่ภาคใต้มี หาดใหญ่ ยะลา สตูล ภาคเหนือมี รพ.นครพิงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขอนแก่น ภาคกลางมีสระบุรี และบ้านแพ้ว สมุทรสาคร
ประเด็นนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าเป็นแนวคิดที่มี มานาน มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริการของรัฐ เดิมไม่คำนึงถึงว่าต้นทุนจะสูงขึ้นหรือจะลดลง เมื่อมาถึงยุคเงินกู้เอดีบี รัฐมีเจตนาแน่วแน่ที่จะลดต้นทุนด้านการสาธารณสุข ขณะนี้ต้นทุนของการบริการสาธารณสุขประเทศไทย ประมาณ 4 %ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งก็ต่ำอยู่แล้ว ขณะที่ประเทศมาเลเซีย 7% การให้บริการสาธารณสุขซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐ อาจจะถูกจัดการในรูปของกิจการเชิงพานิชย์มากขึ้น แต่ละโรงพยาบาลต้องดิ้นรนหางบประมาณมาเลี้ยงให้ตัวเองอยู่รอดได้ แน่นอนว่าคนยากคนจนซึ่งก็ได้รับการบริการจากรัฐน้อยอยู่แล้วต้องได้รับผล กระทบอย่างมาก หลักประกันที่ว่าคนรวย กับคนจนต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมก็คงยิ่งห่างไกลออกไปอีก
ปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม
"การปรับโครงสร้างการเกษตร" เป็นคำที่ถูกใช้กันหลากหลาย โดยส่วนมากใช้ในระดับนโยบาย เช่น ข้อตกลงว่าด้วยการเกษตร ในเวทีข้อตกลงการค้าและศุลกากร (แกตต์) หรือนโยบายระดับประเทศเพื่อเร่งรัดพัฒนาเกษตรส่งออก กรอบนโยบายของเอดีบีต่อเรื่องการปรับโครงสร้างการเกษตรก็เช่นเดียวกัน คือ ปรับระบบการจัดการทรัพยากรทั้งหมด ตั้งแต่การจัดการน้ำ ต้นน้ำ ที่ดิน ระบบกรรมสิทธิ์ต่อทรัพยากร ระบบสินเชื่อ การตลาด การวิจัย การจัดองค์กรของรัฐเพื่อขจัดอุปสรรค หรือเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาเกษตรพานิชย์ส่งออกให้มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้กลไกตลาดเป็นกระบวนการขับเคลื่อนทั้งระบบ ซึ่งรัฐเองจะต้องไม่มีนโยบายและอุปสรรคในการขัดขวางกลไกตลาด
ปรับโครงสร้างภาคการเงิน และพัฒนาตลาดทุน
รัฐบาลจะต้องมีแผนการปรับภาคเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างภาคการเงิน ใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวด และลดการขาดดุลทางการค้า โดยการเสนอให้เพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน
การปฏิรูปสถาบันการเงินนี้ เอดีบีจะทำงานร่วมกับไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟมีหน้าที่ปฏิรูปและสร้างความแข็งแกร่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารโลกทำหน้าที่ปฏิรูปกฎระเบียบและปรับปรุงสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร ส่วนเอดีบีทำหน้าที่ในการพัฒนาตลาดทุน เพิ่มช่องทางการระดมทุน เช่น ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร
แปรรูประบบการศึกษา
ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับด้านการศึกษาสูงมาก และเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เอดีบีจึงได้เสนอการแปรรรูประบบการศึกษาโดยให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ โดยให้เหตุผลอย่างสวยหรูคือ "เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา" แต่โดยเนื้อแท้การแปรรูปนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกคนยากคนจนที่ไม่มีทุนรอน ก็จะไม่สามารถศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้
ยิ่งไปกว่านี้ระบบการศึกษาของประเทศจะถูกควบคุมด้วยเอดีบี โดยเอดีบีได้กำหนดให้คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ เป็นผู้วางนโยบายหลัก และวางการศึกษาให้กับประเทศไทยทุกระดับ การศึกษาทางเลือก ที่เน้นวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชนก็จะถูกกีดกันออกไปจากระบบในที่สุด
แปรรูประบบสาธารณสุข
เอดีบีมองว่าภาระค่าใช้จ่ายของรัฐอีกด้านหนึ่งที่มีการใช้ไปเป็นจำนวนมาก คือค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข ซึ่งมีทั้งค่ายา และเวชภัณฑ์ เช่นเดียวกับระบบการศึกษา ฉะนั้นจึงมีการเสนอให้แปรรูประบบสาธารณสุข โดยในขณะนี้มีการทำโครงการนำร่องโรงพยาบาลระดับศูนย์ของรัฐให้ออกนอกระบบ ราชการ 7 แห่ง คือที่ภาคใต้มี หาดใหญ่ ยะลา สตูล ภาคเหนือมี รพ.นครพิงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขอนแก่น ภาคกลางมีสระบุรี และบ้านแพ้ว สมุทรสาคร
ประเด็นนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าเป็นแนวคิดที่มี มานาน มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริการของรัฐ เดิมไม่คำนึงถึงว่าต้นทุนจะสูงขึ้นหรือจะลดลง เมื่อมาถึงยุคเงินกู้เอดีบี รัฐมีเจตนาแน่วแน่ที่จะลดต้นทุนด้านการสาธารณสุข ขณะนี้ต้นทุนของการบริการสาธารณสุขประเทศไทย ประมาณ 4 %ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งก็ต่ำอยู่แล้ว ขณะที่ประเทศมาเลเซีย 7% การให้บริการสาธารณสุขซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐ อาจจะถูกจัดการในรูปของกิจการเชิงพานิชย์มากขึ้น แต่ละโรงพยาบาลต้องดิ้นรนหางบประมาณมาเลี้ยงให้ตัวเองอยู่รอดได้ แน่นอนว่าคนยากคนจนซึ่งก็ได้รับการบริการจากรัฐน้อยอยู่แล้วต้องได้รับผล กระทบอย่างมาก หลักประกันที่ว่าคนรวย กับคนจนต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมก็คงยิ่งห่างไกลออกไปอีก
ปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม
"การปรับโครงสร้างการเกษตร" เป็นคำที่ถูกใช้กันหลากหลาย โดยส่วนมากใช้ในระดับนโยบาย เช่น ข้อตกลงว่าด้วยการเกษตร ในเวทีข้อตกลงการค้าและศุลกากร (แกตต์) หรือนโยบายระดับประเทศเพื่อเร่งรัดพัฒนาเกษตรส่งออก กรอบนโยบายของเอดีบีต่อเรื่องการปรับโครงสร้างการเกษตรก็เช่นเดียวกัน คือ ปรับระบบการจัดการทรัพยากรทั้งหมด ตั้งแต่การจัดการน้ำ ต้นน้ำ ที่ดิน ระบบกรรมสิทธิ์ต่อทรัพยากร ระบบสินเชื่อ การตลาด การวิจัย การจัดองค์กรของรัฐเพื่อขจัดอุปสรรค หรือเพิ่มขีดความสามารถการพัฒนาเกษตรพานิชย์ส่งออกให้มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้กลไกตลาดเป็นกระบวนการขับเคลื่อนทั้งระบบ ซึ่งรัฐเองจะต้องไม่มีนโยบายและอุปสรรคในการขัดขวางกลไกตลาด
มาตรการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ตามกรอบนโยบายปรับโครงสร้างการเกษตร มีดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- การสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานนโยบายระดับสูง (พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) โดยกำหนดกรอบทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้น้ำ การจัดสรรน้ำ การบังคับใช้ บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการใช้น้ำ รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาภาวะน้ำท่วม
- การจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจัดตั้งคณะกรรมการและแผนปฏิบัติการลุ่มน้ำปิง ป่าสัก ในขั้นแรกและตามด้วยลุ่มน้ำมูล คลองท่าตะเภา และบางปะกง
- การให้บริการจัดส่งน้ำให้ชุมชนมีส่วนร่วม และโอนงานบางส่วนให้เอกชนจัดการระบบชลประทานขนาดใหญ่และกลาง 3 แห่ง อีกทั้งให้เริ่มกระบวนการคิดเงินคืนทุนของการก่อสร้างระบบชลประทาน
- การคุ้มครองพื้นที่ต้นน้ำและการอนุรักษ์ดิน
- การปฏิรูปการถือครองที่ดินและการจัดการ ให้สปก.เร่งรัดออกสปก.4-01 จากเดิมเฉลี่ยปีละ 273,000 เฮกเตอร์ (1,706,250 ไร่) เป็น 400,000 เฮกเตอร์ (2,500,000 ไร่) ในปี 2543
- การยับยั้งการทำลายทรัพยากรชายฝั่ง และส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยวชายฝั่ง
- การปรับปรุงการให้สินเชื่อ
- การปรับโครงสร้างการออม และการให้สินเชื่อ ใช้อัตราดอกเบี้ย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์คืนร้อยละ 9 เฉพาะเงินกู้เอดีบี
2. การเพิ่มขีดความสามารถด้านการส่งออก
- เพิ่มขีดความสามารถด้านงานวิจัยและเทคโนโลยี จัดตั้งสภาวิจัยการเกษตรแห่งชาติ
- ปรับโครงสร้างระบบส่งเสริมการเกษตรและให้ความรู้แก่เกษตรกร โดยตั้งคณะทำงานศึกษาการบริการด้านการตลาดและอื่น ๆ ที่เป็นระบบครบวงจร
- การปรับปรุงการรับรองคุณภาพ จัดตั้งสถาบันมาตรฐานสินค้าเกษตรแห่งชาติ และสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
- ส่งเสริมการส่งออก จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมการผลิต แปรรูป ส่งออก
- ลดบทบาทของรัฐในการแทรกแซงตลาดและราคา ให้รัฐยกเลิกการจัดหาแจกจ่ายปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ทบทวนการแทรกแซงตลาดปัจจัยการผลิตการเกษตร โดยไม่แข่งขันกับภาคเอกชน
3. การปรับโครงสร้าง การจัดการ การปรับปรุงระบบบริหาร
- ปรับปรุงโครงสร้างและการจัดการองค์กรของกระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งสภาที่ปรึกษาภาคเอกชนในกระทรวงเกษตร
- สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการมีส่วนร่วมวางแผนทางด้านการเกษตร
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- การสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานนโยบายระดับสูง (พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) โดยกำหนดกรอบทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้น้ำ การจัดสรรน้ำ การบังคับใช้ บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการใช้น้ำ รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาภาวะน้ำท่วม
- การจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจัดตั้งคณะกรรมการและแผนปฏิบัติการลุ่มน้ำปิง ป่าสัก ในขั้นแรกและตามด้วยลุ่มน้ำมูล คลองท่าตะเภา และบางปะกง
- การให้บริการจัดส่งน้ำให้ชุมชนมีส่วนร่วม และโอนงานบางส่วนให้เอกชนจัดการระบบชลประทานขนาดใหญ่และกลาง 3 แห่ง อีกทั้งให้เริ่มกระบวนการคิดเงินคืนทุนของการก่อสร้างระบบชลประทาน
- การคุ้มครองพื้นที่ต้นน้ำและการอนุรักษ์ดิน
- การปฏิรูปการถือครองที่ดินและการจัดการ ให้สปก.เร่งรัดออกสปก.4-01 จากเดิมเฉลี่ยปีละ 273,000 เฮกเตอร์ (1,706,250 ไร่) เป็น 400,000 เฮกเตอร์ (2,500,000 ไร่) ในปี 2543
- การยับยั้งการทำลายทรัพยากรชายฝั่ง และส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยวชายฝั่ง
- การปรับปรุงการให้สินเชื่อ
- การปรับโครงสร้างการออม และการให้สินเชื่อ ใช้อัตราดอกเบี้ย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์คืนร้อยละ 9 เฉพาะเงินกู้เอดีบี
2. การเพิ่มขีดความสามารถด้านการส่งออก
- เพิ่มขีดความสามารถด้านงานวิจัยและเทคโนโลยี จัดตั้งสภาวิจัยการเกษตรแห่งชาติ
- ปรับโครงสร้างระบบส่งเสริมการเกษตรและให้ความรู้แก่เกษตรกร โดยตั้งคณะทำงานศึกษาการบริการด้านการตลาดและอื่น ๆ ที่เป็นระบบครบวงจร
- การปรับปรุงการรับรองคุณภาพ จัดตั้งสถาบันมาตรฐานสินค้าเกษตรแห่งชาติ และสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
- ส่งเสริมการส่งออก จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมการผลิต แปรรูป ส่งออก
- ลดบทบาทของรัฐในการแทรกแซงตลาดและราคา ให้รัฐยกเลิกการจัดหาแจกจ่ายปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ทบทวนการแทรกแซงตลาดปัจจัยการผลิตการเกษตร โดยไม่แข่งขันกับภาคเอกชน
3. การปรับโครงสร้าง การจัดการ การปรับปรุงระบบบริหาร
- ปรับปรุงโครงสร้างและการจัดการองค์กรของกระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งสภาที่ปรึกษาภาคเอกชนในกระทรวงเกษตร
- สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการมีส่วนร่วมวางแผนทางด้านการเกษตร
เงินกู้เอดีบี : ผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย และคนจน
มาตรการสำคัญที่คาดว่าจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและโครงสร้างการจัดการทรัพยากรของประเทศอย่างรุนแรง ได้แก่
มาตรการเก็บค่าน้ำเกษตรกร จากแนวทางกฎหมายทรัพยากรน้ำ และการจัดการน้ำ
เงินกู้จากเอดีบี และกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล (Overseas Economic Cooperatipn Fund--OECF) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือจะมีการออก พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ หรือ "การเก็บค่าน้ำเกษตรกร"
จากร่างพระราชบัญญัติน้ำ ที่อาศัยการจัดการแนวทางเดียวกับป่า และที่ดิน ซึ่งให้อำนาจรัฐควบคุมน้ำอย่างเบ็ดเสร็จ และสนับสนุนสิทธิปัจเจกในการจัดการน้ำ โดยยกระดับให้น้ำมีสถานะเป็นสินค้ามากขึ้น น้ำกลายเป็น "ทรัพยากร" หรือปัจจัยการผลิตเชิงการค้าและอุตสาหกรรมในสายตาของรัฐและธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับวัฒนธรรมในสังคมไทย ที่น้ำเป็นของสาธารณะ เป็นทรัพยากรร่วม
ที่ผ่านมาความต้องการใช้น้ำของเมือง ธุรกิจ อุตสาหกรรม และเกษตรพาณิชย์ในภาคกลางที่ขยายตัวมากเกินกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ ได้ก่อให้เกิดวิกฤตแย่งชิงน้ำรุนแรงมาก ยิ่งเมื่อรัฐใช้ระบบรวมศูนย์อำนาจจากกรรมสิทธิ์ของรัฐ และให้สิทธิปัจเจกเพื่อการพาณิชย์ การแย่งชิงน้ำระหว่างประชาชน รัฐ และเอกชนจะชัดเจน และรุนแรงขึ้น กฎหมายถูกที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจรัฐให้ประชาชนมีหน้าที่ ขณะที่ภาคเอกชนได้อาศัยการสนับสนุนจากรัฐในฐานะ "ผู้จ่ายค่าน้ำ" เข้าแย่งชิงเบียดบังทรัพยากรน้ำจากชุมชนได้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงอยู่แล้ว ก็ต้องประสบภาวะยากลำบากหนักขึ้นไปอีกจากต้นทุนค่าน้ำที่เพิ่มเข้ามา
มาตรการสำคัญที่คาดว่าจะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและโครงสร้างการจัดการทรัพยากรของประเทศอย่างรุนแรง ได้แก่
มาตรการเก็บค่าน้ำเกษตรกร จากแนวทางกฎหมายทรัพยากรน้ำ และการจัดการน้ำ
เงินกู้จากเอดีบี และกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล (Overseas Economic Cooperatipn Fund--OECF) จำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือจะมีการออก พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ หรือ "การเก็บค่าน้ำเกษตรกร"
จากร่างพระราชบัญญัติน้ำ ที่อาศัยการจัดการแนวทางเดียวกับป่า และที่ดิน ซึ่งให้อำนาจรัฐควบคุมน้ำอย่างเบ็ดเสร็จ และสนับสนุนสิทธิปัจเจกในการจัดการน้ำ โดยยกระดับให้น้ำมีสถานะเป็นสินค้ามากขึ้น น้ำกลายเป็น "ทรัพยากร" หรือปัจจัยการผลิตเชิงการค้าและอุตสาหกรรมในสายตาของรัฐและธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับวัฒนธรรมในสังคมไทย ที่น้ำเป็นของสาธารณะ เป็นทรัพยากรร่วม
ที่ผ่านมาความต้องการใช้น้ำของเมือง ธุรกิจ อุตสาหกรรม และเกษตรพาณิชย์ในภาคกลางที่ขยายตัวมากเกินกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ ได้ก่อให้เกิดวิกฤตแย่งชิงน้ำรุนแรงมาก ยิ่งเมื่อรัฐใช้ระบบรวมศูนย์อำนาจจากกรรมสิทธิ์ของรัฐ และให้สิทธิปัจเจกเพื่อการพาณิชย์ การแย่งชิงน้ำระหว่างประชาชน รัฐ และเอกชนจะชัดเจน และรุนแรงขึ้น กฎหมายถูกที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจรัฐให้ประชาชนมีหน้าที่ ขณะที่ภาคเอกชนได้อาศัยการสนับสนุนจากรัฐในฐานะ "ผู้จ่ายค่าน้ำ" เข้าแย่งชิงเบียดบังทรัพยากรน้ำจากชุมชนได้มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงอยู่แล้ว ก็ต้องประสบภาวะยากลำบากหนักขึ้นไปอีกจากต้นทุนค่าน้ำที่เพิ่มเข้ามา
มาตรการด้านการปฏิรูปการถือครองที่ดิน และการจัดการ
มาตรการการเร่งรัดออก สปก.
โดยละเลยการให้มีนโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน การปฏิรูปการใช้ที่ดิน
การออก พรบ.ป่าชุมชน และการใช้มาตรการทางภาษีอื่น ๆ
ก็จะนำไปสู่ปัญหาเกษตรกรไม่สามารถรักษาที่ดินไว้ได้
มาตรการสปก.ประการเดียวจึงเป็นการเร่งให้ที่ดินหลุดจากมือเกษตรกรมากขึ้น
ที่มา: http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5631.0;wap2